ธุรกิจกังวลขึ้นค่าแรง-ดอกเบี้ยขึ้น-ค่าครองชีพสูง พร้อมเปิดธุรกิจแนวโน้มปลดแรงงาน

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ เช่น ขึ้นค่าแรง ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เศรษฐกิจโลก ส่งผลต่อธุรกิจไทยในปัจจุบันจากภาคธุรกิจว่า ภาคธุรกิจมองว่า การปรับขึ้นค่าแรงแรงในเดือน ต.ค. ส่วนใหญ่ 55.4% มองว่า มีผลกระทบมาก โดยเฉพาะธุรกิจแปรรูปสินค้าเกษตร ค้าส่ง ร้านอาหาร ท่องเที่ยว และภาคการเกษตร เนื่องจากกระทบต่อต้นทุนปรับเพิ่มขึ้น รวมถึงกระทบต่อกำไร ขณะที่ 34.3% มองว่า ได้รับผลกระทบปานกลาง 7.4% มองว่า น้อย และ 2.9% มองว่า ไม่กระทบเลย

ทั้งนี้เมื่อถามว่า โอกาสในการเลิกจ้าง หรือปลดคนงาน ในสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งภาคเกษตร บริการ ภาคการค้า อุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ มองว่า ยังไม่มี แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ในภาคบริการ แม้ส่วนใหญ่ระบุว่า ยังไม่มีโอกาสปลดแรงงาน แต่มีจำนวนหนึ่ง เช่น ธุรกิจพัฒนาอสังหา ร้านอาหาร ธุรกิจความงาม เกสต์เฮาส์ ที่พัก ระบุว่า มีโอกาสปลดแรงงานบ้าง ขณะที่แนวทางการปรับขึ้นราคาสินค้า บริการ 24.2% มองว่า ปรับขึ้นน้อยกว่า 1% รองลงมาปรับขึ้น 1-2% ถัดมาปรับขึ้น 5% ขึ้นไป ส่วนปัจจัยการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่วนใหญ่มองว่า กระทบปานกลาง แต่ที่ระบุว่า กระทบมาก เป็นธุรกิจเช่าซื้อ, ก่อสร้าง, อสังหาริมทรัพย์, ค้าส่ง, เครื่องประดับ, ภาคเกษตร และมองว่า มีโอกาสเกิดส่งผลให้เกิดหนี้เอ็นพีแอล ทั้งในภาคอุตสาหกรรม การค้า บริการ เกษตร ในระดับมาก     คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

“ปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ คือ ค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลกระทบด้านกำไร ยอดขาย และจำนวนลูกค้าที่จับจ่ายน้อยลดลงส่วนเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย กว่า77.1%มองว่าส่งผลกระทบต่อต้นทุน และส่งผลต่อสภาพคล่อง43.4%ส่วนการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ยเพิ่ม5%ส่งผลกระทบต่อต้นทุนของภาคธุรกิจทั้งขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ เช่น ภาคการท่องเที่ยว ค้าส่ง และภาคการเกษตร อีกทั้งปัจจุบันไทยยังได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมที่คาดว่าส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจประมาณ5,000ล้านบาท และยังต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง หรืออยู่ที่7%ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายนอกประเทศ ที่ทำให้ราคาวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะต้นทุนด้านพลังงาน ดังนั้น การที่รัฐบาลยังคงตรึงราคาพลังงานจึงเป็นเรื่องที่เหมาะสมแล้ว”

อย่างไรก็ตามทางศูนย์พยากรณ์ฯ คาดว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ จะมีผลกดดันให้อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) ในปี 65 ลดลงมาอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับปีก่อน แต่ถ้าผลักดันให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นไปใกล้เคียงหรือมากกว่า 10 ล้านคน จะช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวไปได้เกือบทั้งหมด ซึ่งคาดการณ์ว่า ปี 65 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยทะลุ 10 ล้านคน ทำให้มีเงินเข้าระบบเศรษฐกิจกว่า 2.4 แสนล้านบาท และยังคงคาดการณ์เดิม ว่า ปี 65 จีดีพีจะอยู่ที่ 3.1% ส่งออกอยู่ที่ 5-6% และคาดการณ์ว่าในปี 66 จีดีพีจะเติบโตอยู่ในกรอบ 3-3.5% โดยจะประเมินตัวเลขเศรษฐกิจอีกครั้งในเดือน พ.ย.นี้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

By admin

Related Post