เมื่อพูดถึง “โรงงานอุตสาหกรรม” หรือภาคอุตสาหกรรมต่างๆ หลายๆ พื้นที่มักจะส่ายหน้าไม่อยากให้ “โรงงาน” เข้ามาตั้งในพื้นที่ใกล้บ้าน ด้วยเหตุผลการตั้งโรงงานบางแห่งมักมีปัญหาสร้างความเดือดร้อนให้กับคนในพื้นที่ เช่น ปล่อยน้ำเสีย สร้างมลพิษทั้งทางเสียง ทางอากาศ และมีอีกหลายปัญหาต่างๆ มากมาย ทั้งที่ภาคอุตสาหกรรม ถือเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งในพื้นที่รอบๆ ทั้งภาพรวมเศรษฐกิจหลักของประเทศ
นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ขยายความในเรื่องนี้ว่า รัฐบาลได้มอบให้กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ผลักดันเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พัฒนาพื้นที่ และยกระดับอุตสาหกรรมให้เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของพื้นที่ ควบคู่กับการให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของประชาชน และสิ่งแวดล้อมร่วมกัน ซึ่ง กรอ.ในฐานะกำกับดูแลโรงงานกว่า 70,000 แห่งทั่วประเทศ รวมทั้งสวนอุตสาหกรรมหลายแห่ง ได้เดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายบีซีจี และยกระดับเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศตามกรอบบันทึกความเข้าใจ ด้วยการบูรณาการความร่วมมือกับ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และจังหวัดเป้าหมายการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 39 จังหวัด โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นที่ที่มี
ทั้งนี้ได้แบ่งเป็น 5 ระดับ เริ่มจาก ระดับที่ 1 การมีส่วนร่วม ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการวางแผน ดำเนินการตามแผน ติดตามประเมินผล และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ระดับที่ 2 การส่งเสริม ใช้ประโยชน์พื้นที่ให้รองรับต่อแผนการพัฒนาที่ร่วมกำหนดไว้ โรงงานอุตสาหกรรมและประชาชนในพื้นที่มีการเปิดบ้านสานสัมพันธ์กัน
ระดับที่3ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่า มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดและป้องกันมลพิษ สร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจให้กับชุมชนระดับที่4การพึ่งพาอาศัยโรงงานอุตสาหกรรมมีการพึ่งพาอาศัยกัน ภาคอุตสาหกรรม มีส่วนช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนเพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่ระดับที่5เมืองน่าอยู่ คู่อุตสาหกรรมเมืองต้นแบบมีเศรษฐกิจดี สิ่งแวดล้อมดี สังคมมีความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดี ประชาชนมีความสุขและอยู่ร่วมกับอุตสาหกรรมได้อย่างยั่งยืน ซึ่งหลายๆ โรงงานเดินมาถึงระดับที่ 3 และโรงงานขนาดใหญ่หลายแห่ง ก็ได้ขับเคลื่อนมาถึงระดับ 5 แล้วก็มี
“การพัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมให้เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของพื้นที่ ควบคู่กับการให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของประชาชนและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องเชื่อมโยงกับแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ตามนโยบายบีซีจี โมเดล ของรัฐบาล เข้าไปยกระดับเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่มีการประกาศพื้นที่ไปแล้ว18พื้นที่ ใน15จังหวัด ให้พัฒนาไปสู่ระดับที่3และ4พร้อมเร่งพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศพื้นที่ใหม่เพิ่มเติม ให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ20ปี ประเทศไทยมีต้นแบบ “เมืองน่าอยู่ คู่อุตสาหกรรม” ไม่น้อยกว่า40พื้นที่ ใน37จังหวัด”คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
กรอบการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ แบ่งเป็น 5 มิติ 20 ด้าน คือ 1. มิติด้านกายภาพ มีทำเลที่ตั้งสอดคล้องกับผังเมือง และมีการวางผังการใช้ประโยชน์พื้นที่กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม โดยการวางผังที่ตั้งและการจัดพื้นที่ รวมทั้งออกแบบอาคารและบริเวณโดยรอบ 2. มิติด้านเศรษฐกิจ มองถึงความคุ้มค่าในการผลิต และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น ผู้ประกอบการ และชุมชนอย่างมั่นคง
3. มิติสิ่งแวดล้อม การจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดและป้องกันมลพิษใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่า การจัดการคุณภาพน้ำ ทั้งการจัดการคุณภาพอากาศ จัดการกากของเสียและวัสดุเหลือใช้ จัดการพลังงานการจัดการด้านความปลอดภัยและสุขภาพ การเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม การจัดการเหตุเดือดร้อนรำคาญ การจัดการกระบวนการผลิต 4.มิติสังคม พนักงานในพื้นที่และชุมชนโดยรอบมีคุณภาพชีวิต และสังคมน่าอยู่ 5. มิติการบริหารจัดการ การบริหารจัดการพื้นที่อย่างเป็นระบบ โดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ที่ผ่านมา กรอ.ได้ส่งเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่เป้าหมาย เพื่อพัฒนาและยกระดับเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ขึ้นสู่ระดับที่ 3 จำนวน 14 พื้นที่ และเข้าสู่ระดับที่ 4 จำนวน 4 พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี 1 พื้นที่ จังหวัดนครราชสีมา 1 พื้นที่ และจังหวัดระยอง 2 พื้นที่ ซึ่งเป็นระดับที่เมืองจะมีการพึ่งพาอาศัยกัน ทั้งการอยู่ร่วมกันระหว่างชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม และการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตลอดจนมีการดูแลใส่ใจชุมชนรอบข้าง ทั้งในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม การมีเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่ดีร่วมกันอย่างยั่งยืน รวมทั้งได้ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบกิจการภาคอุตสาหกรรมไปสู่การเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมตามมาตรฐาน CSR-DIW (Corporate Social Responsibility of Industrial Work) เพื่อให้เกิดการไว้วางใจจากภาคประชาชน มีการพึ่งพาเกื้อกูลกันในสังคม และอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน
“ล่าสุดยังได้เดินหน้าประกาศพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเพิ่มเติมอีก 36 พื้นที่ โดยวางเป้าหมาย ภายในปี 80 ทั้ง 54 พื้นที่ ต้องพัฒนาสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับที่ 5 เมืองน่าอยู่ คู่อุตสาหกรรม ซึ่งการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับที่ 5 นั้น จะต้องมีลักษณะเชิงกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตที่ดี มีการพึ่งพาอาศัยเกื้อกูลกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน” นายวันชัย อธิบดี กรอคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. กล่าวทิ้งท้าย